24
มิถุนายน 2564 นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า
เปิดเผยถึงความคืบหน้าพื้นที่ขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ตำบลโรงช้าง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
เพื่อบูรณาการเตรียมความพร้อมในเชิงป้องกันเพื่อรับสถานการณ์ช่วงฤดูฝน
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตร
และการรักษาสภาพแวดล้อมทางน้ำ ตามนโยบายรัฐบาลและมาตรการของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
โดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
รองนายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม
โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กรมเจ้าท่า
: สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ : สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1
เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี
จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อแก้ไขปัญหาร่องน้ำตื้นเขิน
และเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก โดยใช้เรือเจ้าท่า ข.11
และเรือเจ้าท่า 211
เป็นเครื่องจักรในการปฏิบัติงานโดยจะทำการขุดลอกให้ได้ความกว้างก้นร่อง 35 เมตร
ระยะทางประมาณ 1,200 เมตร ปริมาณวัสดุขุดลอกจำนวน 100,000 ลูกบาศก์เมตร
ระยะเวลาในการปฏิบัติงานประมาณ 120 วัน ปัจจุบันทำการขุดลอกได้ระยะทาง 526 เมตร
ปริมาณวัสดุขุดลอกจำนวน 44,476 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นผลงานร้อยละ 44.47
และการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลโรงช้าง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
เพื่อขยายความกว้างของแม่น้ำ แก้ไขปัญหาร่องน้ำตื้นเขิน
และช่วยระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก เริ่มขุดลอกตั้งแต่ (กิโลเมตรที่ 216+450 ถึง
กิโลเมตร ที่ 216+950)
ดำเนินการโดยเรือเจ้าท่า ข.29 และเรือเจ้าท่า 229 เป็นเครื่องจักรในการปฏิบัติงาน
ความกว้างก้นร่อง 35 เมตร ระดับความลึกก้นร่องเท่ากับ -3 เมตร
(ระดับน้ำทะเลปานกลาง) ระยะทางประมาณ 500 เมตร ปริมาณวัสดุขุดลอกจำนวน 47,000
ลูกบาศก์เมตร ระยะเวลาในการปฏิบัติงานประมาณ 60 วัน ปัจจุบันทำการขุดลอกได้ระยะทาง
73 เมตร ปริมาณวัสดุ ขุดลอกจำนวน 7,177
ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นผลงานร้อยละ 15.27
อธิบดีกรมเจ้าท่า
กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี
ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เฉพาะที่ตื้นเขิน) เป็น 1 ใน 9
แผนงานป้องกันอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่กรมเจ้าท่าได้ร่วมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภารกิจการขุดลอกเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ
บรรเทาอุทกภัย ขยายความกว้างร่องน้ำ เก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้ง
และประโยชน์แก่พื้นที่ด้านการเกษตร
ช่วยส่งเสริมการคมนาคมขนส่งในลำน้ำตามภารกิจหลักของกรมเจ้าท่า
และขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารพยากรณ์อากาศเพื่อเป็นการเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยง
ระมัดระวังในการเดินเรือ สวมใส่เสื้อชูชีพตลอดการเดินทางทางน้ำ ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า
กระทรวงคมนาคม
พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์เร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
หากพบเห็นความไม่ปลอดภัยทางน้ำ สามารถโทรแจ้งสายด่วน กรมเจ้าท่า 1199 ตลอด 24
ชั่วโมง
“..กรมเจ้าท่า..พัฒนา..เพื่อความสุขของประชาชน..”
25 มิถุนายน
2564
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขานุการกรม