ระเบียการนำเรือต่างประเทศเข้าเทียบท่าและออกจากเทียบ
ประกาศกรมเจ้าท่า
ที่ 88/2515
เรื่อง การนำเรือต่างประเทศเข้าเทียบท่าและออกจากเทียบ
…………………..
เพื่อความร่วมมือประสานงานกันระหว่างทางราชการกับบรรดาท่าเทียบเรือ อันจะทำให้บังเกิดความสะดวกและปลอดภัย ในการนำเรือสินค้าต่างประเทศเข้าอกตามท่าเทียบเรือในเขตท่าเรือกรุงเทพฯ อนุวัติตามมาตรา 56 ทวิแห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศให้เจ้าของท่าเทียบเรือหรือผู้ประกอบ กิจการท่าเรือสินค้าต่างประเทศปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- จัดให้มีนายท่าอย่างน้อย 1 คน ประจำแต่ละท่า โดยแจ้งชื่อนายท่าให้กรมเจ้าท่าทราบ และในกรรีที่มีการเปลี่ยน แปลงนายท่าให้แจ้งให้กรมเจ้าท่าทราบในโอกาสแรก
- นายท่าต้องอยู่ประจำที่ท่าในขณะเรือเข้าเทียบและออกจากเทียบ เพื่อสอดส่องดูแล รับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่เรือที่จะเข้าเทียบและออกจากเทียบ ทั้งนี้ ให้มีการเตรียมการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงก่อน เรือที่จะเข้าเทียบและออกจากเทียบ การเตรียมการดังกล่าว เช่น ไม่ให้เรือลำเลียงและสิ่งกีดขวางอื่น ๆ อยู่หน้าท่าเรือใกล้กับ บริเวณท่าเทียบเรือในรัศมี 30 เมตร จากจุดที่หัวและท้ายสุดของเรือใหญ่ขณะเข้าเทียบและออกจากเทียบ เพื่อป้องกัน อุบัติเหตุอันอาจเกิดขึ้น และต้องกำหนดระยะห่างระหว่างเรือใหญ่ ที่จอดเทียบต่อเนื่องกันไว้ไม่น้อยกว่า 10 เมตร เมื่อเรือ จอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้น ให้มีการติดต่อระหว่างเรือใหญ่กับนายท่าได้ โดยการพูดวิทยุ หรือกระบอกเสียง ที่ได้ยินชัดเจน
- ก่อนที่เรือจะเข้าเทียบท่า ให้นายท่าชักธงอักษร N และแผ่นป้ายขนาดพอเห็นได้ชัด ลอกหมายเลขระหว่างของเรือ เพื่อแสดงจุดเทียบไว้คู่กันก็ได้
- นายท่าต้องจัดเรือรับเชือกที่มีคุณลักษณะอันเหมาะสมแก่งานจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ลำ พร้อมทั้งจัดให้มีคนผูกเชือก และคนปลอดเชือกที่มีสมรรถภาพและจำนวนคนเพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่
- นายท่าต้องสอดส่องดูแลท่าเทียบเรือ ให้มีสภาพสมบูรณ์ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตอยู่เสมอ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสิ่งกันกระทบ และพุกผูกเรือต้องให้มีสภาพแข็งแรงมั่นคง พร้อมทั้งจัดให้มีไฟแสงสว่างเพียงพอในเวลากลางคืน
- เจ้าของท่าเทียบเรือหรือผู้ประกอบกิจการท่าเทียบเรือ ซึ่งมีท่าเทียบเรืออยู่ชิดติดกัน จะต้องให้ความร่วมมือซึ่งกัน และกัน ในอันที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยทุกประการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 2 ขณะที่เรือใหญ่จะเข้าเทียบ หรือออกจากเทียบ ณ ท่าเทียบเรือใดก็ตาม ทั้งนี้ ให้เป็นหน้าที่ของนายท่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ติดต่อให้ความร่วมมือซึ่งกัน และกันโดยใกล้ชิดทั้งนี้ ให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากปรากฏว่าท่าเทียบเรือใดบกพร่องละเลย หรือไม่ให้ความร่วมมือดังกล่าว กรมเจ้าท่าอาจพิจารณาไม่นำเรือเข้าเทียบท่าหรืองดการอนุญาตใช้ท่าเทียบเรือนั้นเสียก็ได้
ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515
(ลงชื่อ) เรือเอก บุญเลื่อน ซุ่นทรัพย์
(บุญเลื่อน ซุ่นทรัพย์)
อธิบดีกรมเจ้าท่า